วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ท่อ

มาตรฐานเกี่ยวกับระบบท่อน้ำ กำหนดเอาไว้
1. ท่อพีวีซีสีฟ้า  คือ ท่อน้ำดี หมายถึงท่อ ที่ใช้รับแรงดัน  เช่น ท่อที่ต่อไปยังฝักบัว  ท่อที่ต่อไปยังก๊อกน้ำภายในบ้าน เป็นต้น
2. ท่อพีวีซี สีเทา  คือ  ท่อน้ำทิ้ง  หมายถึงท่อที่ไม่มีแรงดัน  เช่น ท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างหน้า  เป็นต้น
3. ท่อพีวีซีสีเหลือง  คือ  ท่อร้อยสายไฟภายในบ้าน
           ส่วนท่อน้ำร้อน จะใช้ท่อทองแดง ท่อ PB. สีดำ  หรือ แบ๊บน้ำที่เรียกว่า ท่อ  GSP ก็ได้ จะเลือกใช้ท่ออะไรนั้น  วิศวกร และ ผู้ออกแบบบ้านพักอาศัยหลังนั้น จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสม  แต่ที่สำคัญ คือ การติดตั้งเครื่องทำความร้อน จะต้องดูแลข้อต่อต่าง ๆ เป็นพิเศษ เพราะเป็นจุดที่เกิดการรั่ว - ซึม ได้ง่าย
          โดยมากแล้ว ระบบท่อน้ำจะถูกซ่อนไว้ใต้อาคาร, ในผนัง หรือใต้พื้น  หากมีการรั่ว - ซึม จะสังเกตยาก ทำให้เราต้องจ่ายค่าน้ำมากกว่าปกติ  เพื่อลดจุดบกพร่องต่าง ๆ โดยเฉพาะรอยต่อทุกจุดของระบบ
         จากมิเตอร์ของการประปา  ถึงปั๊มน้ำในบ้าน ก็ควรมีถังพักน้ำ  เพื่อรองรับน้ำ  ไม่ควรสูบน้ำโดยตรงจากเส้นท่อ  เพราะมีผลเสียหลายประการ  เช่น ถ้าบริเวณนั้นน้ำไหลน้อย  เครื่องสูบน้ำก็ปั๊มอากาศเข้าไปมาก  มิเตอร์ก็จะหมุน เหมือนมีการสูบน้ำเข้าไป  หรือปั๊มน้ำจะทำให้แรงดันในเส้นท่อลดลง  ประกอบกับรอยต่อของเส้นท่อบางจุดรั่ว  ก็จะดูดน้ำสกปรกจากภายนอก เข้าไปในเส้นท่อได้  เป็นต้น
        ส่วนข้อระวังของการติดตั้งสุขภัณฑ์  ควรติดตั้งตามคำแนะนำ ในคู่มือของแต่ละยี่ห้ออย่างละเอียด  เพราะหากละเลยจุดหนึ่ง จุดใดไป  อาจเป็นสาเหตุ ทำให้สุขภัณฑ์มีปัญหาภายหลังการติดตั้งได้  เช่น  ชักโครกแล้วไม่มีน้ำเอ่อหล่อเลี้ยงในโถชักโครก  หรือน้ำไหลลงชักโครกตลอดเวลา  เป็นต้น 

การประกอบท่อ สุขภัณฑ์

เทคโนโลยีระบบท่อสุขภัณฑ์ เป็นหนังสือที่เขียนโดย อาจารย์ มานะศิษฏ์ พิมพ์สาร ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่มีประสบการณ์ในงานด้านท่อสุขภัณฑ์ และระบบประสาน เนื้อหาจะเกี่ยวกับระบบท่อ และอุปกรณ์ทุกชนิดที่นำมาใช้ในงานท่อสุขภัณฑ์ เช่น การวัดต่อประกอบ การติดตั้ง การยึดแขวน ตลอดจนการซ่อมแซมระบบท่อ และการอ่านแบบพิมพ์เขียว เรื่องทั่วไปของงานท่อสุขภัณฑ์, ลักษณะงานท่อในอาคาร, หลักการของงานท่อสุขภัณฑ์, ช่างท่อสุขภัณฑ์, มาตรฐานอาชีพช่างท่อในประเทศไทย, ระบบท่อสุขภัณฑ์ในอาคาร, ความปลอดภัยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานระบบท่อสุขภัณฑ์, เครื่องมือชนิดต่างๆ ในงานท่อสุขภัณฑ์

ท่อเหล็กอาบสังกะสี, ท่อเหล็กหล่อ เช่น ชนิดของท่อ ขนาดของท่อ ลักษณะของท่อมาตรฐานท่อ, ท่อทองแดง และท่อทองเหลือง, ท่อพลาสติก, ท่อพีวีซีที่มีคุณภาพ และการใช้งานท่อพีวีซี และเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย

จากประสบการณ์ของผู้เขียน และได้ถ่ายทอดเนื้อหาเป็นหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้โดยง่าย และนำไปปฏิบัติได้จริง ทั้งยังเป็นหนังสือระบบท่อสุขภัณฑ์เล่มแรก ที่เขียนได้ใกล้เคียงกับสภาพงานช่างท่อสุขภัณฑ์ของบ้านเรามากที่สุด โดยอาศัยประสบการณ์ การรับข้อมูลงานสอนหนังสือ และจากการฝึกนักศึกษาเข้าสอบแข่งขันฝีมือช่างทั่วประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลอยกระทง

ลอยกระทง



การ ลอยกระทง จะมีขึ้น ใน วัน ลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย

กิจกรรมวัน ลอยกระทง

นำกระทง ไป ลอยกระทง ตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี ลอยกระทง
จัดนิทรรศการ พิธี ลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในการ ลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง

เหตุผลในการลอยกระทง

ลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา ลอยกระทง เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ลอยกระทง ตามคติความเชื่อ ลอยกระทง เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต

การ ลอยกระทง ในยุคปัจจุบัน

การ ลอยกระทง ในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามยุค เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 1 2 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ วันลอยกระทง สนุกกับการ ลอยกระทง นะค่ะ