วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัญลักษณ์สากลของป้ายสำหรับการดูแลรักษาเสื้อผ้า

สัญลักษณ์สากลของป้ายสำหรับการดูแลรักษาเสื้อผ้า

สัญลักษณ์สากลของป้ายสำหรับการดูแลรักษาเสื้อผ้ามีอยู่ 5 รูปแบบ




รูปอ่างสำหรับซัก แสดงกระบวนการซัก (โดยใช้มือหรือเครื่องซักผ้าก็ได้)
รูปสามเหลี่ยม แสดงกระบวนการฟอกขาวโดยใช้คลอรีน
รูปเตารีด แสดงกระบวนการรีดผ้า
รูปวงกลม แสดงกระบวนการซักแห้ง
รูปวงกลมในสี่เหลี่ยม แสดงกระบวนการ ทำให้ผ้าแห้ง หลังจากซัก

สัญลักษณ์สากลของกระบวนการซัก

ซักผ้าฝ้าย (ไม่มีขีดด้านล่าง) กระบวนการซักผ้าด้วยเครื่องแบบปกติและกระบวนการปั่นผ้าให้แห้งแบบปกต
ซักผ้าใยสังเคราะห ์(มีขีดหนึ่งขีด) กระบวนการซักผ้าแบบระมัดระวัง
และกระบวนการปั่นผ้าให้แห้งแบบระมัดระวัง
ซักผ้าใยขนสัตว์ (มีขีดสองขีด) หมายถึง กระบวนการซักผ้าและปั่นแห้ง ที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง
สัญลักษณ์สากลของอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการซักผ้า





ซักผ้าฝ้ายสีขาวและผ้าลินินสีขาว (ปราศจากการตกแต่งชนิดอื่น ๆ
ซักผ้าลินิน หรือ วิสโคส (ปราศจากการตกแต่งชนิดอื่น ๆ ) เมื่อสีที่ย้อมทนทานได้ ณ.อุณภูมิ 60'C
ซักผ้าไนลอน ผ้าใยผสมฝ้ายกับพอลิเอสเตอร์ ผ้าฝ้าย หรือผ้าวิสโคส ที่มีการตกแต่งพิเศษ
ผ้าใยผสมฝ้ายกับอะไครลิก ซักผ้าฝ้าย ลินิน หรือวิสโคส เมื่อสีที่ย้อมทนทานได้ ณ อุณภูมิ 40'c แต่ไม่ใช่ 60' c
ซักผ้าอะไครลิก ผ้าอะซิเตด ผ้าไตอะซิเตด รวมถึงผ้าใยอื่น ๆ ที่นำมาผสมกับใยขนสัตว
์ผ้าใยผสมกับโพลิเอสเตอร์ กับขนสัตว์
ซักผ้าขนสัตว์ ผ้าใยผสมขนสัตว์กับใยไหม
ซักผ้าด้วยมือ
ลักษณ์สากลของกระบวนการีดผ้า



200'C ผ้าลินิน ผ้าฝ้าย ผ้าวิสโคส์ Hot iron
150'C ผ้าใยผสมโพลิเอสเตอร์ ผ้าขนสัตว์ Warm iron
110'C ผ้าอะไครลิก ผ้าไนลอน ผ้า อะซิเตด ผ้าโพลิเอสเตอร์ Cool iron
ห้ามรีดด้วยเตารีด เพราะจะทำให้เส้นใยถูกทำลายได้ Do not iron
สัญลักษณ์สากลของกระบวนการซักแห้ง






เสื้อผ้าสำเร็จรูปนี้สามารถจะซักแห้งได้ในตัวทำละลายทุกชนิด
เสื้อผ้าสำเร็จรูปนี้สามารถจะซักแห้งใน เปอร์คลอโรเอทธีลีน ตัวทำละลาย R113 น้ำมันก๊าด และตัวทำละลาย R11
เสื้อผ้าสำเร็จรูปนี้จะมีความว่องไวกับตัวทำละลายที่กล่าวไว้ในสัญลักษณ์ ตัวที่สอง (P)
แต่จะต้องระมัดระวังการเติมน้ำในการซัก
ห้ามซักแห้งโดยเด็ดขาด
อบผ้าด้วยเครื่องรบความร้อนสูง
อบผ้าด้วยเครื่องความร้อนต่ำ
ห้ามอบผ้าด้วยเครื่องอบแห้ง

ผู้คนทั้งหลายมักจะมีความชอบเสื้อผ้าที่แตกแต่ง กัน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะมีเทคนิคในการคัดเลือกการ แต่งกายอย่างไร เพื่อให้รูปแบบ สีของเสื้อผ้าเข้ากับอายุ อาชีพ สีผิว รูปร่างของตนได้อย่างดีหรือไม่ เทคนิคและ ศิลปะในการเลือกซื้อเสื้อผ้าถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะ ชี้บ่งว่าเสื้อผ้าการแต่งกายของคนๆ หนึ่งเหมาะสมกับ ตัวเองหรือไม่






การเลือกซื้อเสื้อผ้าตามสีผิว

1. คนที่ใบหน้าแดงเปล่งปลั่ง : เหมาะที่จะสวมเสื้อผ้า สีเขียวชาหรือสีเขียวแก่ ไม่เหมาะที่จะสวมใส่เสื้อสีเขียว สด มิฉะนั้นจะดูไม่ทันสมัย


2. คนที่ใบหน้าออกเหลือง : เหมาะที่จะสวมใส่เสื้อ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ไม่เหมาะที่จะสวมเสื้อสีน้ำเงินแก่ สีคราม สีกรมท่า มิฉะนั้นจะทำให้ใบหน้าดูเหลืองมากยิ่งขึ้น

3. คนที่มีสีหน้าอิดโรยผิดปกติ : เหมาะที่จะสวม เสื้อสีขาว เพื่อให้แลเสมือนสุขภาพดี ไม่เหมาะที่จะสวม เสื้อสีเทา สีม่วง จะทำให้ดูเหมือนอ่อนเพลียยิ่งขึ้น

4. คนที่มีสีผิวขาวเหลือง : เหมาะที่จะสวมเสื้อผ้าโทน สีอบอุ่นแลดูอ่อนโยน เช่น สีชมพู สีส้ม ไม่เหมาะที่จะ สวมเสื้อผ้าสีเขียวและสีเทาอ่อน มิฉะนั้นจะดูเหมือนเป็น คน “ขี้โรค”

5. คนที่มีสีผิวคล้ำ : เหมาะที่จะสวมเสื้อผ้าสีอ่อน สว่าง เช่น สีเหลืองอ่อน สีชมพูอ่อน สีขาว เป็นต้น ซึ่ง จะสะท้อนความสว่างของสีผิว

6. คนที่มีผิวไม่ละเอียด : เหมาะที่จะสวมเสื้อที่ทำจาก สิ่งทอที่มีหลากสี มีลายนูนเว้าบ้าง (เช่น ผ้าสักหลาดหยาบ เป็นต้น) ไม่เหมาะที่จะสวมเสื้อทำจากสิ่งทอสีอ่อนที่มี ลวดลายประณีต


การเลือกซื้อเสื้อผ้าตามรูปร่าง

1. พยายามหลีกเลี่ยงเสื้อที่มีคอเสื้อเหมือนรูปทรง ใบหน้าของคุณ

(1) คนหน้ากลม ต้องไม่เลือกเสื้อคอ กลม ควรเลือกใส่เสื้อคอ V คอแบะหรือคอเปิด
(2) หากเป็นคนหน้าเหลี่ยม ควรใส่เสื้อคอ V คอเสื้อ รูปตัว U หรือคอแบะ คอเปิด
(3) หากเป็นคนหน้ายาว ควรเลือกเสื้อคอกลมหรือคอตั้ง
2. ควรเลือกเสื้อที่สามารถแก้จุดด้อยของคอ
(1) คนคอสั้นควรเลือกเสื้อคอเปิด คอแบะหรือเสื้อคอต่ำ
(2) คนคอใหญ่ควรเลือกเสื้อที่มีคอแบบจีนคอตั้งหรือคอเสื้อ ที่แคบแต่ลึก และผูกผ้าพันคอ
(3)คนคอยาวควรเลือกคอปกตั้งและผ้าพันคอที่พันชิดกับคอ
3. การเลือกซื้อเสื้อผ้าที่ส่งเสริมจุดเด่นหลีกเลี่ยงจุด ด้อยตามสภาพรูปร่างของแต่ละคน
(1) คนหน้าอกใหญ่ ควรเลือกเสื้อคอเปิดหรือคอต่ำหรือเสื้อหลวมที่มีไหล่ กว้าง เพื่อให้เอวดูเล็กลง
(2) คนหน้าอกเล็ก ควรเลือก เสื้อที่มีคอเปิดเป็นแนวเล็กยาวและเสื้อลายขวาง
(3) คน เอวสั้น ควรเลือกเสื้อคลุมเอวสูงที่จับจีบ หรือกระโปรง อัดพีท
(4) คนสะโพกแคบ ควรเลือกกางเกงทรงหลวม หรือกางเกงที่จีบด้านบน กระโปรงจีบแบบหลวม หรือเสื้อแจ๊คเก็ตตัวหลวม
(5) คนสะโพกใหญ่ ควรเลือก กระโปรงหรือกางเกงที่พอดีตัวและมีส่วนโค้งส่วนเว้า เสื้อ หรือเสื้อกล้ามต้องยาวคลุมสะโพก ถ้าจะให้ดีกระโปรง ควรมีกระดุมเล็กๆ เป็นแถวยาวหรือรอยตะเข็บตรงกลาง
(6) คนที่ขาใหญ่ ควรดลือกกระโปรงที่ขอบเอว กระชับแต่ด้านล่างหลวม กางเกงที่ด้านบนมีรอยจีบหรือ ขาตรงหรือจะเลือกกางเกงขาสั้นหรือกางเกงกระโปรงก็ได้
(7) คนขาสั้น ควรเลือกเสื้อที่เป็นสีเดียวกันหรือเสื้อ เอวลอย




สาว ๆ ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินพิกัดไปนิด ๆ หน่อย ๆ ชอบกลุ่มอกกลุ่มใจกันนักเชียว จะเรื่องอะไรล่ะ ก็เรื่องใส่ชุดอะไรก็ไม่สวยนะสิ เลยทำให้แห่กันไปลดน้ำหนักกันเป็นขนานใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว คุณสาว ๆ เชื่อไหมคะ หนุ่ม ๆ น่ะ เขาไม่ชอบสาวแบนแต๊ดแต๋กันหรอก เขาบอกว่าอวบ ๆ นะ ดูดี ดีเซ็กซี่กว่าเป็นไหน ๆ ยิ่งถ้าสาวอวบคนไหน แต่ตัวได้โดนใจแล้วละก็ รับรองเรตติ้งพุ่งกระฉูด ทีนี้จะเลือกแต่งอย่างไรล่ะ ถึงจะเหมาะและเป็นการเน้นให้ร่วงอวบนั้นดูสวยสมส่วนยิ่งขึ้น มาดูกันเลยค่า


- การเลือกซื้อเสื้อผ้าสีเข้ม จะทำให้ดูผอมเพรียวกว่าเดิม


- ผ้าเนื้อมันจะช่วยเน้นสัดส่วนที่ต้องการจะมิดเม้ม หากไม่อยากให้ไขมันส่วนเกินออกมาปรากฏโฉม ก็ให้หลืกเลี่ยงการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบบนี้


- กระโปรงแซคที่เหมาะสม ควรจะเป็นทรงเอ หรือเอไลน์ จะช่วยพรางสะโพกได้


- กระโปรงทรงเอยาวเหนือเข่า จะช่วยพรางความอวบของช่วงขา


- สวมใส่เสื้อผ้าสีเดียวกันทั้งชิ้น ดีหว่าหลากสี


- คาดเข็มขัดเส้นเล็กต่ำ ๆ ใต้สะโพกจะช่วยหลบพุง


- เสื้อสูพกับรองเท้าส้นสูงช่วยให้ดูเรียว


- ผ้าเนื้อหาบอกลาไปซะ กันมาหาผ้าเนื้อบางเบาและทิ้งตัว


- เสื้อผ้าระบายฟูฟ่อง หรือลูกไม้ย้อยระย้า ม้จะต้องตาแค่ไหน ก็อย่างไปซื้อมาใส่


- สีโทนพาสเทลหวาน ๆ ก็ไม่เหมาะกับสาวเจ้าเนื้อเหมือนกัน แต่หากอดใจไม่ไหว ให้เลือกใส่ส่วนใดส่วนหนึ่ง อย่างใส่ทั้งชุด


- กางเกงที่มีกระเป๋าเต็มไปหมด ก็ไม่ควรใส่ เพราะจะทำให้ดูตัวพองขึ้นมามากกว่าเดิม



สุดท้ายๆการเลือกซื้อเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายยังต้องพิจารณาตามบุคลิกของแต่ละบุคคลด้วยนะ เพราะเครื่องแต่ง กายที่ทันสมัย นอกจากใช้ประดับตกแต่งได้แล้ว ยังสะท้อนถึงความมีศิลปะของแต่ละบุคคลด้วย เสื้อผ้าหรือ เครื่องแต่งกายที่ดีก็สามารถที่จะสะท้อนถึงความมีสุนทรียศิลป์เช่นกัน เมื่อมีความลงตัวในการสวมใส่เสื้อผ้าให้ สวยงามทั้งภายในและภายนอก ซึ่งก็ถือว่าคุณเป็นผู้มีศิลปะในการแต่งกาย
สัญลักษณ์สากลของป้ายสำหรับการดูแลรักษาเสื้อผ้า

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

                                                  
                                                                       บทที่4
                                                                 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
           เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
          1.  เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
          2.  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          3.  เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
          4.  เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น  
องค์ประกอบของการสื่อสาร
          1.  ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
          2.  ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
          3.  ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
          4.  สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
          5.  โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล 
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
          การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้ 
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
          การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส  
โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
          เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา 
วอยซ์เมล (Voice Mail)               
          เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม 
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)               
          เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม 
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)               
          เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย 
กรุ๊ปแวร์(groupware)               
           เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย 
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)               
          ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM 
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)               
          เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                 
 การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์  
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1.  สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)               
          เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ 
เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ                
2.  สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)               
          สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล                 Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที                
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)                   
          โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที 
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
          1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
          2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
          3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) 
ตัวกลางการสื่อสาร
          1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
          -  สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)               
           สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
          -  สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)               
           สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
          -  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)               
          สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก 
          2.  สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
          - แสงอินฟราเรด (Infrared)  เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
          -  สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
          -  ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
          -  การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)  เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์ 
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
          1.  ราคา
          2.  ความเร็ว
          3.  ระยะทาง
          4.  สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
          5.  ความปลอดภัยของข้อมูล 
มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
          1. บลูทูธ (Bluetooth)
          2. ไวไฟ (Wi-Fi)
          3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ท่อ

มาตรฐานเกี่ยวกับระบบท่อน้ำ กำหนดเอาไว้
1. ท่อพีวีซีสีฟ้า  คือ ท่อน้ำดี หมายถึงท่อ ที่ใช้รับแรงดัน  เช่น ท่อที่ต่อไปยังฝักบัว  ท่อที่ต่อไปยังก๊อกน้ำภายในบ้าน เป็นต้น
2. ท่อพีวีซี สีเทา  คือ  ท่อน้ำทิ้ง  หมายถึงท่อที่ไม่มีแรงดัน  เช่น ท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างหน้า  เป็นต้น
3. ท่อพีวีซีสีเหลือง  คือ  ท่อร้อยสายไฟภายในบ้าน
           ส่วนท่อน้ำร้อน จะใช้ท่อทองแดง ท่อ PB. สีดำ  หรือ แบ๊บน้ำที่เรียกว่า ท่อ  GSP ก็ได้ จะเลือกใช้ท่ออะไรนั้น  วิศวกร และ ผู้ออกแบบบ้านพักอาศัยหลังนั้น จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสม  แต่ที่สำคัญ คือ การติดตั้งเครื่องทำความร้อน จะต้องดูแลข้อต่อต่าง ๆ เป็นพิเศษ เพราะเป็นจุดที่เกิดการรั่ว - ซึม ได้ง่าย
          โดยมากแล้ว ระบบท่อน้ำจะถูกซ่อนไว้ใต้อาคาร, ในผนัง หรือใต้พื้น  หากมีการรั่ว - ซึม จะสังเกตยาก ทำให้เราต้องจ่ายค่าน้ำมากกว่าปกติ  เพื่อลดจุดบกพร่องต่าง ๆ โดยเฉพาะรอยต่อทุกจุดของระบบ
         จากมิเตอร์ของการประปา  ถึงปั๊มน้ำในบ้าน ก็ควรมีถังพักน้ำ  เพื่อรองรับน้ำ  ไม่ควรสูบน้ำโดยตรงจากเส้นท่อ  เพราะมีผลเสียหลายประการ  เช่น ถ้าบริเวณนั้นน้ำไหลน้อย  เครื่องสูบน้ำก็ปั๊มอากาศเข้าไปมาก  มิเตอร์ก็จะหมุน เหมือนมีการสูบน้ำเข้าไป  หรือปั๊มน้ำจะทำให้แรงดันในเส้นท่อลดลง  ประกอบกับรอยต่อของเส้นท่อบางจุดรั่ว  ก็จะดูดน้ำสกปรกจากภายนอก เข้าไปในเส้นท่อได้  เป็นต้น
        ส่วนข้อระวังของการติดตั้งสุขภัณฑ์  ควรติดตั้งตามคำแนะนำ ในคู่มือของแต่ละยี่ห้ออย่างละเอียด  เพราะหากละเลยจุดหนึ่ง จุดใดไป  อาจเป็นสาเหตุ ทำให้สุขภัณฑ์มีปัญหาภายหลังการติดตั้งได้  เช่น  ชักโครกแล้วไม่มีน้ำเอ่อหล่อเลี้ยงในโถชักโครก  หรือน้ำไหลลงชักโครกตลอดเวลา  เป็นต้น 

การประกอบท่อ สุขภัณฑ์

เทคโนโลยีระบบท่อสุขภัณฑ์ เป็นหนังสือที่เขียนโดย อาจารย์ มานะศิษฏ์ พิมพ์สาร ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่มีประสบการณ์ในงานด้านท่อสุขภัณฑ์ และระบบประสาน เนื้อหาจะเกี่ยวกับระบบท่อ และอุปกรณ์ทุกชนิดที่นำมาใช้ในงานท่อสุขภัณฑ์ เช่น การวัดต่อประกอบ การติดตั้ง การยึดแขวน ตลอดจนการซ่อมแซมระบบท่อ และการอ่านแบบพิมพ์เขียว เรื่องทั่วไปของงานท่อสุขภัณฑ์, ลักษณะงานท่อในอาคาร, หลักการของงานท่อสุขภัณฑ์, ช่างท่อสุขภัณฑ์, มาตรฐานอาชีพช่างท่อในประเทศไทย, ระบบท่อสุขภัณฑ์ในอาคาร, ความปลอดภัยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานระบบท่อสุขภัณฑ์, เครื่องมือชนิดต่างๆ ในงานท่อสุขภัณฑ์

ท่อเหล็กอาบสังกะสี, ท่อเหล็กหล่อ เช่น ชนิดของท่อ ขนาดของท่อ ลักษณะของท่อมาตรฐานท่อ, ท่อทองแดง และท่อทองเหลือง, ท่อพลาสติก, ท่อพีวีซีที่มีคุณภาพ และการใช้งานท่อพีวีซี และเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย

จากประสบการณ์ของผู้เขียน และได้ถ่ายทอดเนื้อหาเป็นหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้โดยง่าย และนำไปปฏิบัติได้จริง ทั้งยังเป็นหนังสือระบบท่อสุขภัณฑ์เล่มแรก ที่เขียนได้ใกล้เคียงกับสภาพงานช่างท่อสุขภัณฑ์ของบ้านเรามากที่สุด โดยอาศัยประสบการณ์ การรับข้อมูลงานสอนหนังสือ และจากการฝึกนักศึกษาเข้าสอบแข่งขันฝีมือช่างทั่วประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลอยกระทง

ลอยกระทง



การ ลอยกระทง จะมีขึ้น ใน วัน ลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย

กิจกรรมวัน ลอยกระทง

นำกระทง ไป ลอยกระทง ตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี ลอยกระทง
จัดนิทรรศการ พิธี ลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในการ ลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง

เหตุผลในการลอยกระทง

ลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา ลอยกระทง เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ลอยกระทง ตามคติความเชื่อ ลอยกระทง เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต

การ ลอยกระทง ในยุคปัจจุบัน

การ ลอยกระทง ในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามยุค เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 1 2 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ วันลอยกระทง สนุกกับการ ลอยกระทง นะค่ะ

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติคอมพิวเตอร์

ประวัติคอมพิวเตอร์

ช่วงปี ค.ศ. 1930 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงที่โลกได้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถโปรแกรมได้และคำนวณผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพจริง แต่เป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกเกิดในปีใดและประดิษฐ์โดยใคร เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในช่วงแรกๆ ยังไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์อย่างแท้จริง โดย

ค.ศ. 1936 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer
ค.ศ. 1942 จอห์น อตานาซอฟฟ์ และ คลิฟฟอร์ด เบอร์รี ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ได้ร่วมกันสร้าง คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี ซึ่งสามารถประมวลผลเลขฐานสอง
ค.ศ. 1946 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้ร่วมกันสร้างอีนิแอก ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศจำนวน 20,000 หลอด เพื่อสร้างหน่วยประมวลผล และถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกสำหรับการใช้งานทั่วไป โดยมีการประมวลผลแบบทศนิยม โดยหากต้องการตั้งโปรแกรมจะต้องต่อสายเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด
ค.ศ. 1948 Frederic Williams และ Tom Kilburn สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ หลอดรังสีคาโทด เป็นหน่วยความจำ
ค.ศ. 1947 ถึง 1948 John Bardeen, Walter Brattain และ Wiliam Shockley สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทราสซิสเตอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
ค.ศ. 1951 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้พัฒนา UNIVAC Computer ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการขาย
ค.ศ. 1953 ไอบีเอ็ม (IBM) ออกจำหน่าย EDPM เป็นครั้งแรก และเป็นก้าวแรกของไอบีเอ็มในธุรกิจคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1954 John Backus และ IBM ร่วมกันสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ชื่อ FORTRAN ซึ่งเป็นภาษาระดับสูง (high level programming language) ภาษาแรกในประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1955 (ใช้จริง ค.ศ. 1959) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด, ธนาคารแห่งชาติอเมริกา, และ บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก ร่วมกันสร้าง ERMA และ MICR ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในธุรกิจธนาคาร
ค.ศ. 1958 Jack Kilby และ Robert Noyce เป็นผู้สร้าง Integrated Circuit หรือ ชิป(Chip) เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1962 สตีฟ รัสเซลล์ และ เอ็มไอที ได้พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกชื่อว่า "Spacewar"
ค.ศ. 1964 Douglas Engelbart เป็นผู้ประดิษฐ์เมาส์ และ ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์
ค.ศ. 1969 เป็นปีที่กำเนิด ARPAnet ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต
ค.ศ. 1970 อินเทล] พัฒนาหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์หรือ RAM เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1971 Faggin, Hoff และ Mazor พัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ตัวแรกของโลกให้อินเทล (Intel)
ค.ศ. 1971 Alan Shugart และ IBM พัฒนา ฟลอปปี้ดิสก์ เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1973 Robert Metcalfe และ Xerox ได้พัฒนาระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) สำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1975 Scelbi และ Mark-8 Altair และ IBM ร่วมกันวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้รายย่อยเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1977 ถือกำเนิด Apple I, II และ TRS-80 และ Commodore Pet Computers ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกๆ ของโลก
ค.ศ. 1981 ไมโครซอฟท์ วางจำหนาย MS-DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมที่สุดในช่วงนั้น
ค.ศ. 1983 บริษัทแอปเปิล ออกคอมพิวเตอร์รุ่น Apple Lisa ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ระบบ GUI
ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล วางจำหน่ายคอมพิวเตอร์รุ่น แอปเปิล แมคอินทอช ซึ่งทำให้มีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง
ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ วางจำหน่าย ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เป็นครั้งแรก